บทที่ 5
ขั้นตอนในการจัดนิทรรศการ
นอกจากหลักการสำคัญของการจัดนิทรรศการ ซึ่งได้แก่หลักจิตวิทยาในการจัดนิทรรศการและหลักการออกแบบนิทรรศการดังได้กล่าวในบทก่อนแล้ว การจัดนิทรรศการที่ดียังประกอบด้วยการบริหารจัดการขั้นตอนในการจัดนิทรรศการที่ดีด้วย
ขั้นตอนในการจัดนิทรรศการ
แม้การจัดนิทรรศการแต่ละประเภทแต่ละครั้งจะมีรูปแบบเนื้อหา
วัตถุประสงค์และกลุ่ม เป้าหมายแตกต่างกัน แต่ก็มีขั้นตอนในการดำเนินงานอย่าง
น้อย 4 ขั้นตอนเหมือนกันคือ ขั้นการวางแผน (planning stage) ขั้นปฏิบัติการ
ผลิตสื่อและติดตั้ง (media production stage) ขั้นการนำเสนอ (presentation stage)
และขั้นการประเมินผล (evaluation stage)
1.ขั้นการวางแผน
การวางแผนเป็นขั้นแรกก่อนลงมือปฏิบัติงานทุกประเภท นับเป็นขั้นสำคัญที่สุดที่ส่งผลถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวของแต่ละงานได้ การวางแผนที่ดีจะช่วยให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีคำถามพื้นฐานที่สำคัญที่ใช้ในการวางแผนทั่วๆไป 6 ประการ
คือ ทำไมจึงต้องกระทำ กิจกรรมอะไรที่จำเป็นจะต้องปฏิบัติ จะปฎิบัติในสถานที่ใด เมื่อใดการกระทำนั้นจึงจะเริ่มดำเนินการ ใครจะเป็นคนปฏิบัติ และปฏิบัติอย่างไร
2.ขั้นปฏิบัติการผลิตสื่อและติดตั้ง
การปฏิบัติการ เป็นการลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับการติดตามและการประเมินผลเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ในขั้นนี้เป็นการนำเอาแผนไปปฏิบัติใช้จริง
3.ขั้นการนำเสนอ
ในขั้นนี้เป็นการแสดงเนื้อหาข้อมูลหรือสื่อต่างๆให้ผู้ชมได้รับรู้ ทดลอง จับต้องหรือเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ตามที่วางแผนออกแบบและติดตั้งไว้ โดยทั่วไปประกอบด้วย พิธีเปิด นิทรรศการ การนำชม ดำเนินกิจกรรมและการประชาสัมพันธ์ภายใน เป็นต้น
4.ขั้นประเมินผล
การประเมินผลเป็นงานสุดท้ายที่มีความสำคัญที่สุดของการปฏิบัติงานทุกชนิด เพราะสามารถสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานแต่ละครั้ง การประเมินผลการจัดนิทรรศการควรครอบคลุมทุกด้านทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้คณะผู้ดำเนินงานได้เห็นถึงข้อดีข้อเสียจุดเด่นจุดด้อยที่สามารถนำไปแก้ไขปรับปรุงในการจัดนิทรรศการครั้งต่อๆไปได้
แนวทางการจัดนิทรรศการที่ดี
ในขณะที่ดำเนินการตามขั้นตอนของการจัดนิทรรศการ
ผู้จัดควรคำนึงถึงแนวทางการจัดนิทรรศการที่ดีดังต่อไปนี้
1.เนื้อหาที่นำมาจัดนิทรรศการต้องตรงกับความสนใจและ
มีความหมายต่อการเรียนรู้ของผู้ชมกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มนอกจากนี้การ
จัดนิทรรศการแต่ละครั้งต้องมีวัตถุประสงค์ที่มีประโยชน์ต่อผู้ชมอย่างชัดเจน ไม่ควรจัดตามประเพณีนิยมหรือจัดเพื่อให้เสร็จสิ้นงบประมาณประจำปีเท่านั้น
2.เนื้อหาที่จัดแสดงในจุดหนึ่งๆควรมีจุดมุ่งหมายเดียวหรือแนวคิดเดียว แสดงออกถึงความมีเอกภาพทั้งด้านเนื้อหาความรู้ความคิดและองค์ประกอบทางกายภาพ
เช่นวัสดุอุปกรณ์การออกแบบสื่อทุกชนิดให้มีรูปแบบเดียวกันสอดคล้องกัน แต่หากมีหลายแนวคิดควรแบ่งพื้นที่ออกจากกันไม่ควรให้ปะปนกัน
3.ต้องตระหนักอยู่เสมอว่าการจัดนิทรรศการที่ดีต้องจัดให้ผู้ชมดู
มิใช่จัดให้อ่านเพราะการจัดให้มีตัวหนังสือมากเกินไปจะทำให้ผู้ชมเสียเวลาใน
การอ่านยิ่งไปกว่านั้นหากไม่ใช่เรื่องสำคัญไม่ตรงกับความสนใจจะทำให้ผู้ชมเบื่อได้ แต่ในกรณีที่ต้องการให้ผู้ชมได้รับความรู้จากการอ่านควรบรรจุเนื้อหาไว้ในสื่อ
สิ่งพิมพ์จำพวกแผ่นพับหรือใบปลิว
4.ตัวหนังสือที่ใช้ในการจัดนิทรรศการควรเป็นแบบเดียวกัน สวยงาม
เหมาะสมกับเนื้อหาอ่านง่ายสื่อความหมายดีข้อควรกะทัดรัดกระตุ้นความสนใจ
ยั่วยุหรือท้าทายความอยากรู้อยากเห็นของผู้ชม ไม่ใช่เขียนสวยแต่อ่านยาก
หรืออ่านไม่ออก
5.การออกแบบควรมีลักษณะง่ายสามารถถ่ายทอดสิ่งที่ยากให้ดูง่าย
ใช้เวลาในการทำความเข้าใจน้อยที่สุดอย่าให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกยุ่งเหยิงในการดูเป็น
อันขาดเนื่องจากผู้ชมมีหลายระดับแตกต่างกันจึงควรจัดรูปแบบให้น่าสนใจดูง่าย
สื่อความหมายดีและมีความหมายต่อการเรียนรู้ของผู้ชม
6. การจัดองค์ประกอบศิลป์ที่ดีจะช่วยกระตุ้นความสนใจและ
สื่อความหมายกับผู้ชมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเรื่องของสีสามารถ
กระตุ้นความรู้สึกและส่งเสริมการเรียนรู้ได้โดยตรงดังนั้นจิตวิทยาในการใช้สี
จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการจัดนิทรรศการเป็นอย่างมาก
7.พึงระวังอย่างให้การจัดแสดงผลงานที่ใช้เวลาในการเตรียม
มานานกลายเป็นนิทรรศการ“ตาย”คือมีเฉพาะบอร์ดหรือป้ายนิเทศที่ติดตั้งเคียงคู่
กับวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่มีชีวิตชีวาไม่มีใครสนใจหรืออย่างมากก็เพียงผู้ชมเดินเข้า
มาดูๆแล้วผ่านไปอย่างไม่มีความหมายวิธีแก้ไขควรให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในกิจกรรม
โดยวิธีการต่าง ๆ อย่างเพลิดเพลินแต่แฝงไปด้วยสาระความรู้
8.สื่อที่ใช้ในการจัดนิทรรศการควรมีหลายประเภททั้งสื่อภาพนิ่งสื่อสิ่งพิมพ์
สื่อ3มิติซึ่งอาจจะเป็นหุ่นจำลองของจริงสื่อที่มีการเคลื่อนไหวด้วยการหมุนการไหล การเคลื่อนที่ไปมาหรือการกระพริบของหลอดไฟจะช่วยเรียกร้องความสนใจได้เป็นอย่างดี
9.วัสดุที่นำมาสร้างสรรค์สื่อเพื่อนำเสนอในนิทรรศการควรมีคุณสมบัติ
สอดคล้องเป็นหมวดเดียวกับเนื้อหาและสิ่งแวดล้อม จะช่วยให้ดูกลมกลืนมีเอกภาพ
10.สื่อหรือสิ่งของที่นำมาจัดแสดงหากไม่เป็นอันตรายต่อผู้ชม สื่อเหล่านั้นควรมีลักษณะเชิญชวนหรือยั่วยุให้ผู้ชมมีส่วนร่วม เช่น การเปิดการปิด การหยิบจับ การทดลอง การร่วมทายปัญหาหรือแสดงความคิดเห็นการแข่งขัน
11.สถานที่ในการจัดนิทรรศการควรมีลักษณะโดดเด่นโอ่โถง
ไม่ใช่มุมอับ ซอกมุมหรือบริเวณที่ถูกปิดบังด้วยสิ่งอื่น ๆ ซึ่งทำให้ยากแก่การมองเห็น
นอกจากนี้สถานที่จัดนิทรรศการไม่ควรอยู่ห่างจากชุมชนกลุ่มเป้าหมายมากจนเกินไป เพราะการเดินทางไกลอาจเป็นอุปสรรคสำคัญในการเข้าชมและเข้าร่วมกิจกรรม
นิทรรศการก็ได้
12.แสงและอากาศเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการจัดนิทรรศการ ผู้จัดต้องแน่ใจว่าการจัดนิทรรศการแต่ละครั้งมีแสงสว่างและอากาศดีเพียงพอ อาจจะเป็นแสงธรรมชาติหรือแสงจากหลอดไฟก็ได้เทคนิคการควบคุมแสงให้สว่างเฉพาะที่จะช่วยกระตุ้นอารมณ์และกระตุ้นความสนใจได้ดีเป็นพิเศษนอกจากนี้แสงยังช่วยโน้มน้าวให้เกิดบรรยากาศได้ตามจินตนาการของผู้จัดและนักออกแบบนิทรรศการได้เป็นอย่างดีด้วย
ความล้มเหลวของการจัดนิทรรศการ
ดังได้กล่าวมาแล้วว่านิทรรศการเป็นกิจกรรมที่รวมเอาสื่อ
หลายชนิดมาจัดแสดงพร้อมกับวัสดุสิ่งของอื่น ๆ และต้องใช้งบประมาณ
เวลา ความรู้ความสามารถของบุคลากรตลอดจนการประสานงานที่ดี ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาอุปสรรคในการจัดนิทรรศการจึงควรตระหนัก
ถึงสาเหตุหลายประการที่ทำให้การจัดนิทรรศการประสบความล้มเหลวดังนี้
1.ขาดการวางแผนที่ดีการดำเนินงานทุกชนิดโดยเฉพาะงานที่มีองค์ประกอบ
เกี่ยวข้องหลายอย่างต้องอาศัยการประสานความร่วมมือกับบุคคลอื่นจำเป็นต้องมีการวางแผน
เป็นอย่างรอบคอบมองปัญหาทุกแง่มุมทั้งภาพกว้างและภาพลึกในรายละเอียด มิฉะนั้นจะนำมาซึ่งความยุ่งยากลำบอกให้เสียเวลาในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
ซึ่งอาจเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจำนวนมาก
2.ขาดการประสานที่ดีระหว่างผู้บริหารหรือเจ้าของงานกับผู้ปฏิบัติงาน นับเป็นประเด็นปัญหาสำคัญในการจัดกิจกรรมนิทรรศการ โดยเฉพาะนิทรรศการ
ขนาดใหญ่ซึ่งมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายอย่างผู้บริหารหรือเจ้าของงานจำเป็นต้อง
มีการประสานงานกับบุคคลฝ่ายต่างๆอย่างเป็นระบบสามารถอำนวยความสะดวก
ในการปฏิบัติงานได้อย่างไม่ติดขัดส่วนผู้ปฏิบัติแต่ละฝ่ายต้องรับผิดชอบงานที่ได้
รับมอบหมายให้ลุล่วงไปได้อย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของภาพรวมทั้งหมด
ของงานแต่ละครั้ง
3.มีเวลาในการเตรียมและการดำเนินงานน้อยเกินไป การจัดนิทรรศการแต่ละครั้งต้องในเวลาในการติดต่อประสานงานและการเตรียมสื่อ
หลายชนิดในการนำเสนอหลายรูปแบบยิ่งนิทรรศการขนาดใหญ่ยิ่งใช้สื่อทั้ง
วัสดุอุปกรณ์และกิจกรรมจำนวนมากสื่อแต่ละชนิดต้องอาศัยผู้ชำนาญการเฉพาะ
ทางในการออกแบบและวางแผนเพื่อการนำเสนอต้องใช้เวลามากพอสมควรในการ
เตรียมและซักซ้อมหรือทดลอง หากมีเวลาน้อยอาจทำให้ผิดพลาดและล้มเหลวได้
4.การจัดนิทรรศการไม่ตรงกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย
การจัดนิทรรศการครั้งใดก็ตามหากการนำเสนอสื่อหรือเนื้อหาที่ไม่ตรงกับธรรมชาติ
ของผู้ชมไม่สอดคล้องกับหลักจิตวิทยาการรับรู้และเรียนรู้ของผู้ชมกลุ่มเป้าหมายแต่
ละวัยขาดการกระตุ้นให้เห็นประโยชน์และคุณค่าของสิ่งที่นำเสนอทำให้เสียเวลา
และสิ้นเปลืองงบประมาณไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
5.การจัดนิทรรศการไม่เหมาะกับเหตุการณ์หรือเทศกาล กิจกรรมนิทรรศการที่จัดขึ้นโดยไม่สัมพันธ์กับเหตุการณ์หรือเทศกาลในสังคมท้องถิ่น
จะทำให้ขาดความสนใจจากประชาชนหรือผู้ชมกลุ่มเป้าหมายดังนั้นในในขั้นการ
วางแผนจัดนิทรรศการควรคำนึงอยู่เสมอว่าเทศกาลต่างๆในท้องถิ่นคือโจทย์ปัญหา
ของสังคมที่ต้องการคำตอบหรือแนวคิดจากกิจกรรมนิทรรศการ
6.ขาดการออกแบบที่ดีสื่อต่างๆที่นำมาจัดแสดงโดยเฉพาะสินค้าหรือ
ผลิตภัณฑ์ต้องได้รับการออกแบบอย่างพิถีพิถันสวยงามมีความหมายสัมพันธ์กับเนื้อหาสาระ
ของนิทรรศการสามารถกระตุ้นการรับรู้ของผู้ชมกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพหากสื่อ
หรือสิ่งของต่างๆที่นำเสนอในงานนิทรรศการไม่สวยงามขาดความประณีต ขาดความกลมกลืนของวัสดุกับเรื่องราวจะทำให้ผู้ชมขาดความสนใจไปด้วย
7.ขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดีการดำเนินกิจกรรมใดๆที่ต้องการให้บุคคลอื่นรับรู้
และให้ความร่วมมือจำเป็นต้องใช้การประชาสัมพันธ์เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่หรือบอกข่าว ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบทั้งล่วงหน้าและระหว่างการดำเนินงาน หากขาดการประชาสัมพันธ์จะทำให้ประชาชนหรือผู้ชมกลุ่มเป้าหมายขาดการรับรู้และ
ไม่มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมนิทรรศการครั้งนั้นไปด้วย
8.ขาดงบประมาณสนับสนุนการจัดนิทรรศการแต่ละครั้งจำเป็นต้องใช้
งบประมาณในการดำเนินงานซึ่งแต่ละครั้งแต่ละงานอาจมีค่าใช้จ่ายไม่เท่าเทียมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการเช่นบางงานมีเนื้อหาที่มีประโยชน์กับ
ชุมชนมากต้องนำเสนอด้วยสื่อวัสดุอุปกรณ์คุณภาพดีเป็นสื่อถาวรอาจมีการจัดซื้อ
จัดจ้างในราคาสูง แต่บางครั้งเป็นนิทรรศการชั่วคราวอาจใช้วัสดุสิ้นเปลืองราคา
ย่อมเยาได้
9.มีความบกพร่องทางเทคนิคบางประการ เช่น แสงสว่างไม่เพียงพอ
กระแสไฟฟ้า ขัดข้อง เครื่องอุปกรณ์ชำรุดขณะใช้งาน ตัวหนังสืออ่านยาก คำอธิบาย
เข้าใจยาก
10.สถานที่จัดอยู่ห่างไกลจากชุมชนกลุ่มเป้าหมายหรือการคมนาคมไม่สะดวก ความล้มเหลวในการจัดนิทรรศการบางครั้งเห็นได้ชัดเจนว่าเกิดจากสาเหตุหลายประการ และที่สำคัญประการหนึ่งคือสถานที่จัดงานอยู่ห่างไกลจากชุมชนหรือผู้ชมกลุ่มเป้าหมาย เว้นเสียแต่ว่าเนื้อหาสาระของนิทรรศการนั้นมีความสำคัญ มีคุณค่า และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับการดำเนินชีวิตต่างๆ
บทสรุป
ขั้นตอนในการจัดนิทรรศการประกอบด้วยขั้นการวางแผน ขั้นปฏิบัติการ
ผลิตสื่อและติดตั้ง ขั้นการนำเสนอและขั้นประเมินผลขั้นการวางแผนควรจัด
ประชุมเพื่อตั้งวัตถุประสงค์ กำหนดกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและกิจกรรม ระยะเวลา
สถานที่งบประมาณหน้าที่รับผิดชอบขั้นปฏิบัติการผลิตสื่อและติดตั้งประกอบด้วย
การออกแบบในนิทรรศการ การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ การลงมือติดตั้งสื่อต่าง ๆ การควบคุมดูแลความปลอดภัยในขั้นการนำเสนอประกอบด้วย พิธีเปิดนิทรรศการ
การนำชมและดำเนินกิจกรรม การประชาสัมพันธ์ภายใน ส่วนขั้นประเมินผลประกอบ
ด้วย การประเมินภายในจากกลุ่มผู้จัดและการประเมินจากผู้ชมหรือกลุ่มเป้าหมาย
ทุกขั้นตอนของการจัดนิทรรศการ ควรคำนึงถึงแนวทางการจัดนิทรรศการที่ดี นอกจากนี้ยังควรป้องกันปัญหาอุปสรรคซึ่งมาจากสาเหตุหลายประการเพื่อไม่ให้
การจัดนิทรรศการล้มเหลว
ขั้นตอนในการจัดนิทรรศการ
นอกจากหลักการสำคัญของการจัดนิทรรศการ ซึ่งได้แก่หลักจิตวิทยาในการจัดนิทรรศการและหลักการออกแบบนิทรรศการดังได้กล่าวในบทก่อนแล้ว การจัดนิทรรศการที่ดียังประกอบด้วยการบริหารจัดการขั้นตอนในการจัดนิทรรศการที่ดีด้วย
ขั้นตอนในการจัดนิทรรศการ
แม้การจัดนิทรรศการแต่ละประเภทแต่ละครั้งจะมีรูปแบบเนื้อหา
วัตถุประสงค์และกลุ่ม เป้าหมายแตกต่างกัน แต่ก็มีขั้นตอนในการดำเนินงานอย่าง
น้อย 4 ขั้นตอนเหมือนกันคือ ขั้นการวางแผน (planning stage) ขั้นปฏิบัติการ
ผลิตสื่อและติดตั้ง (media production stage) ขั้นการนำเสนอ (presentation stage)
และขั้นการประเมินผล (evaluation stage)
1.ขั้นการวางแผน
การวางแผนเป็นขั้นแรกก่อนลงมือปฏิบัติงานทุกประเภท นับเป็นขั้นสำคัญที่สุดที่ส่งผลถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวของแต่ละงานได้ การวางแผนที่ดีจะช่วยให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีคำถามพื้นฐานที่สำคัญที่ใช้ในการวางแผนทั่วๆไป 6 ประการ
คือ ทำไมจึงต้องกระทำ กิจกรรมอะไรที่จำเป็นจะต้องปฏิบัติ จะปฎิบัติในสถานที่ใด เมื่อใดการกระทำนั้นจึงจะเริ่มดำเนินการ ใครจะเป็นคนปฏิบัติ และปฏิบัติอย่างไร
2.ขั้นปฏิบัติการผลิตสื่อและติดตั้ง
การปฏิบัติการ เป็นการลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับการติดตามและการประเมินผลเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ในขั้นนี้เป็นการนำเอาแผนไปปฏิบัติใช้จริง
3.ขั้นการนำเสนอ
ในขั้นนี้เป็นการแสดงเนื้อหาข้อมูลหรือสื่อต่างๆให้ผู้ชมได้รับรู้ ทดลอง จับต้องหรือเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ตามที่วางแผนออกแบบและติดตั้งไว้ โดยทั่วไปประกอบด้วย พิธีเปิด นิทรรศการ การนำชม ดำเนินกิจกรรมและการประชาสัมพันธ์ภายใน เป็นต้น
4.ขั้นประเมินผล
การประเมินผลเป็นงานสุดท้ายที่มีความสำคัญที่สุดของการปฏิบัติงานทุกชนิด เพราะสามารถสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานแต่ละครั้ง การประเมินผลการจัดนิทรรศการควรครอบคลุมทุกด้านทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้คณะผู้ดำเนินงานได้เห็นถึงข้อดีข้อเสียจุดเด่นจุดด้อยที่สามารถนำไปแก้ไขปรับปรุงในการจัดนิทรรศการครั้งต่อๆไปได้
แนวทางการจัดนิทรรศการที่ดี
ในขณะที่ดำเนินการตามขั้นตอนของการจัดนิทรรศการ
ผู้จัดควรคำนึงถึงแนวทางการจัดนิทรรศการที่ดีดังต่อไปนี้
1.เนื้อหาที่นำมาจัดนิทรรศการต้องตรงกับความสนใจและ
มีความหมายต่อการเรียนรู้ของผู้ชมกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มนอกจากนี้การ
จัดนิทรรศการแต่ละครั้งต้องมีวัตถุประสงค์ที่มีประโยชน์ต่อผู้ชมอย่างชัดเจน ไม่ควรจัดตามประเพณีนิยมหรือจัดเพื่อให้เสร็จสิ้นงบประมาณประจำปีเท่านั้น
2.เนื้อหาที่จัดแสดงในจุดหนึ่งๆควรมีจุดมุ่งหมายเดียวหรือแนวคิดเดียว แสดงออกถึงความมีเอกภาพทั้งด้านเนื้อหาความรู้ความคิดและองค์ประกอบทางกายภาพ
เช่นวัสดุอุปกรณ์การออกแบบสื่อทุกชนิดให้มีรูปแบบเดียวกันสอดคล้องกัน แต่หากมีหลายแนวคิดควรแบ่งพื้นที่ออกจากกันไม่ควรให้ปะปนกัน
3.ต้องตระหนักอยู่เสมอว่าการจัดนิทรรศการที่ดีต้องจัดให้ผู้ชมดู
มิใช่จัดให้อ่านเพราะการจัดให้มีตัวหนังสือมากเกินไปจะทำให้ผู้ชมเสียเวลาใน
การอ่านยิ่งไปกว่านั้นหากไม่ใช่เรื่องสำคัญไม่ตรงกับความสนใจจะทำให้ผู้ชมเบื่อได้ แต่ในกรณีที่ต้องการให้ผู้ชมได้รับความรู้จากการอ่านควรบรรจุเนื้อหาไว้ในสื่อ
สิ่งพิมพ์จำพวกแผ่นพับหรือใบปลิว
4.ตัวหนังสือที่ใช้ในการจัดนิทรรศการควรเป็นแบบเดียวกัน สวยงาม
เหมาะสมกับเนื้อหาอ่านง่ายสื่อความหมายดีข้อควรกะทัดรัดกระตุ้นความสนใจ
ยั่วยุหรือท้าทายความอยากรู้อยากเห็นของผู้ชม ไม่ใช่เขียนสวยแต่อ่านยาก
หรืออ่านไม่ออก
5.การออกแบบควรมีลักษณะง่ายสามารถถ่ายทอดสิ่งที่ยากให้ดูง่าย
ใช้เวลาในการทำความเข้าใจน้อยที่สุดอย่าให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกยุ่งเหยิงในการดูเป็น
อันขาดเนื่องจากผู้ชมมีหลายระดับแตกต่างกันจึงควรจัดรูปแบบให้น่าสนใจดูง่าย
สื่อความหมายดีและมีความหมายต่อการเรียนรู้ของผู้ชม
6. การจัดองค์ประกอบศิลป์ที่ดีจะช่วยกระตุ้นความสนใจและ
สื่อความหมายกับผู้ชมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเรื่องของสีสามารถ
กระตุ้นความรู้สึกและส่งเสริมการเรียนรู้ได้โดยตรงดังนั้นจิตวิทยาในการใช้สี
จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการจัดนิทรรศการเป็นอย่างมาก
7.พึงระวังอย่างให้การจัดแสดงผลงานที่ใช้เวลาในการเตรียม
มานานกลายเป็นนิทรรศการ“ตาย”คือมีเฉพาะบอร์ดหรือป้ายนิเทศที่ติดตั้งเคียงคู่
กับวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่มีชีวิตชีวาไม่มีใครสนใจหรืออย่างมากก็เพียงผู้ชมเดินเข้า
มาดูๆแล้วผ่านไปอย่างไม่มีความหมายวิธีแก้ไขควรให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในกิจกรรม
โดยวิธีการต่าง ๆ อย่างเพลิดเพลินแต่แฝงไปด้วยสาระความรู้
8.สื่อที่ใช้ในการจัดนิทรรศการควรมีหลายประเภททั้งสื่อภาพนิ่งสื่อสิ่งพิมพ์
สื่อ3มิติซึ่งอาจจะเป็นหุ่นจำลองของจริงสื่อที่มีการเคลื่อนไหวด้วยการหมุนการไหล การเคลื่อนที่ไปมาหรือการกระพริบของหลอดไฟจะช่วยเรียกร้องความสนใจได้เป็นอย่างดี
9.วัสดุที่นำมาสร้างสรรค์สื่อเพื่อนำเสนอในนิทรรศการควรมีคุณสมบัติ
สอดคล้องเป็นหมวดเดียวกับเนื้อหาและสิ่งแวดล้อม จะช่วยให้ดูกลมกลืนมีเอกภาพ
10.สื่อหรือสิ่งของที่นำมาจัดแสดงหากไม่เป็นอันตรายต่อผู้ชม สื่อเหล่านั้นควรมีลักษณะเชิญชวนหรือยั่วยุให้ผู้ชมมีส่วนร่วม เช่น การเปิดการปิด การหยิบจับ การทดลอง การร่วมทายปัญหาหรือแสดงความคิดเห็นการแข่งขัน
11.สถานที่ในการจัดนิทรรศการควรมีลักษณะโดดเด่นโอ่โถง
ไม่ใช่มุมอับ ซอกมุมหรือบริเวณที่ถูกปิดบังด้วยสิ่งอื่น ๆ ซึ่งทำให้ยากแก่การมองเห็น
นอกจากนี้สถานที่จัดนิทรรศการไม่ควรอยู่ห่างจากชุมชนกลุ่มเป้าหมายมากจนเกินไป เพราะการเดินทางไกลอาจเป็นอุปสรรคสำคัญในการเข้าชมและเข้าร่วมกิจกรรม
นิทรรศการก็ได้
12.แสงและอากาศเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการจัดนิทรรศการ ผู้จัดต้องแน่ใจว่าการจัดนิทรรศการแต่ละครั้งมีแสงสว่างและอากาศดีเพียงพอ อาจจะเป็นแสงธรรมชาติหรือแสงจากหลอดไฟก็ได้เทคนิคการควบคุมแสงให้สว่างเฉพาะที่จะช่วยกระตุ้นอารมณ์และกระตุ้นความสนใจได้ดีเป็นพิเศษนอกจากนี้แสงยังช่วยโน้มน้าวให้เกิดบรรยากาศได้ตามจินตนาการของผู้จัดและนักออกแบบนิทรรศการได้เป็นอย่างดีด้วย
ความล้มเหลวของการจัดนิทรรศการ
ดังได้กล่าวมาแล้วว่านิทรรศการเป็นกิจกรรมที่รวมเอาสื่อ
หลายชนิดมาจัดแสดงพร้อมกับวัสดุสิ่งของอื่น ๆ และต้องใช้งบประมาณ
เวลา ความรู้ความสามารถของบุคลากรตลอดจนการประสานงานที่ดี ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาอุปสรรคในการจัดนิทรรศการจึงควรตระหนัก
ถึงสาเหตุหลายประการที่ทำให้การจัดนิทรรศการประสบความล้มเหลวดังนี้
1.ขาดการวางแผนที่ดีการดำเนินงานทุกชนิดโดยเฉพาะงานที่มีองค์ประกอบ
เกี่ยวข้องหลายอย่างต้องอาศัยการประสานความร่วมมือกับบุคคลอื่นจำเป็นต้องมีการวางแผน
เป็นอย่างรอบคอบมองปัญหาทุกแง่มุมทั้งภาพกว้างและภาพลึกในรายละเอียด มิฉะนั้นจะนำมาซึ่งความยุ่งยากลำบอกให้เสียเวลาในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
ซึ่งอาจเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจำนวนมาก
2.ขาดการประสานที่ดีระหว่างผู้บริหารหรือเจ้าของงานกับผู้ปฏิบัติงาน นับเป็นประเด็นปัญหาสำคัญในการจัดกิจกรรมนิทรรศการ โดยเฉพาะนิทรรศการ
ขนาดใหญ่ซึ่งมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายอย่างผู้บริหารหรือเจ้าของงานจำเป็นต้อง
มีการประสานงานกับบุคคลฝ่ายต่างๆอย่างเป็นระบบสามารถอำนวยความสะดวก
ในการปฏิบัติงานได้อย่างไม่ติดขัดส่วนผู้ปฏิบัติแต่ละฝ่ายต้องรับผิดชอบงานที่ได้
รับมอบหมายให้ลุล่วงไปได้อย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของภาพรวมทั้งหมด
ของงานแต่ละครั้ง
3.มีเวลาในการเตรียมและการดำเนินงานน้อยเกินไป การจัดนิทรรศการแต่ละครั้งต้องในเวลาในการติดต่อประสานงานและการเตรียมสื่อ
หลายชนิดในการนำเสนอหลายรูปแบบยิ่งนิทรรศการขนาดใหญ่ยิ่งใช้สื่อทั้ง
วัสดุอุปกรณ์และกิจกรรมจำนวนมากสื่อแต่ละชนิดต้องอาศัยผู้ชำนาญการเฉพาะ
ทางในการออกแบบและวางแผนเพื่อการนำเสนอต้องใช้เวลามากพอสมควรในการ
เตรียมและซักซ้อมหรือทดลอง หากมีเวลาน้อยอาจทำให้ผิดพลาดและล้มเหลวได้
4.การจัดนิทรรศการไม่ตรงกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย
การจัดนิทรรศการครั้งใดก็ตามหากการนำเสนอสื่อหรือเนื้อหาที่ไม่ตรงกับธรรมชาติ
ของผู้ชมไม่สอดคล้องกับหลักจิตวิทยาการรับรู้และเรียนรู้ของผู้ชมกลุ่มเป้าหมายแต่
ละวัยขาดการกระตุ้นให้เห็นประโยชน์และคุณค่าของสิ่งที่นำเสนอทำให้เสียเวลา
และสิ้นเปลืองงบประมาณไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
5.การจัดนิทรรศการไม่เหมาะกับเหตุการณ์หรือเทศกาล กิจกรรมนิทรรศการที่จัดขึ้นโดยไม่สัมพันธ์กับเหตุการณ์หรือเทศกาลในสังคมท้องถิ่น
จะทำให้ขาดความสนใจจากประชาชนหรือผู้ชมกลุ่มเป้าหมายดังนั้นในในขั้นการ
วางแผนจัดนิทรรศการควรคำนึงอยู่เสมอว่าเทศกาลต่างๆในท้องถิ่นคือโจทย์ปัญหา
ของสังคมที่ต้องการคำตอบหรือแนวคิดจากกิจกรรมนิทรรศการ
6.ขาดการออกแบบที่ดีสื่อต่างๆที่นำมาจัดแสดงโดยเฉพาะสินค้าหรือ
ผลิตภัณฑ์ต้องได้รับการออกแบบอย่างพิถีพิถันสวยงามมีความหมายสัมพันธ์กับเนื้อหาสาระ
ของนิทรรศการสามารถกระตุ้นการรับรู้ของผู้ชมกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพหากสื่อ
หรือสิ่งของต่างๆที่นำเสนอในงานนิทรรศการไม่สวยงามขาดความประณีต ขาดความกลมกลืนของวัสดุกับเรื่องราวจะทำให้ผู้ชมขาดความสนใจไปด้วย
7.ขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดีการดำเนินกิจกรรมใดๆที่ต้องการให้บุคคลอื่นรับรู้
และให้ความร่วมมือจำเป็นต้องใช้การประชาสัมพันธ์เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่หรือบอกข่าว ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบทั้งล่วงหน้าและระหว่างการดำเนินงาน หากขาดการประชาสัมพันธ์จะทำให้ประชาชนหรือผู้ชมกลุ่มเป้าหมายขาดการรับรู้และ
ไม่มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมนิทรรศการครั้งนั้นไปด้วย
8.ขาดงบประมาณสนับสนุนการจัดนิทรรศการแต่ละครั้งจำเป็นต้องใช้
งบประมาณในการดำเนินงานซึ่งแต่ละครั้งแต่ละงานอาจมีค่าใช้จ่ายไม่เท่าเทียมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการเช่นบางงานมีเนื้อหาที่มีประโยชน์กับ
ชุมชนมากต้องนำเสนอด้วยสื่อวัสดุอุปกรณ์คุณภาพดีเป็นสื่อถาวรอาจมีการจัดซื้อ
จัดจ้างในราคาสูง แต่บางครั้งเป็นนิทรรศการชั่วคราวอาจใช้วัสดุสิ้นเปลืองราคา
ย่อมเยาได้
9.มีความบกพร่องทางเทคนิคบางประการ เช่น แสงสว่างไม่เพียงพอ
กระแสไฟฟ้า ขัดข้อง เครื่องอุปกรณ์ชำรุดขณะใช้งาน ตัวหนังสืออ่านยาก คำอธิบาย
เข้าใจยาก
10.สถานที่จัดอยู่ห่างไกลจากชุมชนกลุ่มเป้าหมายหรือการคมนาคมไม่สะดวก ความล้มเหลวในการจัดนิทรรศการบางครั้งเห็นได้ชัดเจนว่าเกิดจากสาเหตุหลายประการ และที่สำคัญประการหนึ่งคือสถานที่จัดงานอยู่ห่างไกลจากชุมชนหรือผู้ชมกลุ่มเป้าหมาย เว้นเสียแต่ว่าเนื้อหาสาระของนิทรรศการนั้นมีความสำคัญ มีคุณค่า และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับการดำเนินชีวิตต่างๆ
บทสรุป
ขั้นตอนในการจัดนิทรรศการประกอบด้วยขั้นการวางแผน ขั้นปฏิบัติการ
ผลิตสื่อและติดตั้ง ขั้นการนำเสนอและขั้นประเมินผลขั้นการวางแผนควรจัด
ประชุมเพื่อตั้งวัตถุประสงค์ กำหนดกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและกิจกรรม ระยะเวลา
สถานที่งบประมาณหน้าที่รับผิดชอบขั้นปฏิบัติการผลิตสื่อและติดตั้งประกอบด้วย
การออกแบบในนิทรรศการ การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ การลงมือติดตั้งสื่อต่าง ๆ การควบคุมดูแลความปลอดภัยในขั้นการนำเสนอประกอบด้วย พิธีเปิดนิทรรศการ
การนำชมและดำเนินกิจกรรม การประชาสัมพันธ์ภายใน ส่วนขั้นประเมินผลประกอบ
ด้วย การประเมินภายในจากกลุ่มผู้จัดและการประเมินจากผู้ชมหรือกลุ่มเป้าหมาย
ทุกขั้นตอนของการจัดนิทรรศการ ควรคำนึงถึงแนวทางการจัดนิทรรศการที่ดี นอกจากนี้ยังควรป้องกันปัญหาอุปสรรคซึ่งมาจากสาเหตุหลายประการเพื่อไม่ให้
การจัดนิทรรศการล้มเหลว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น