รายชื่อมหาเทพ

ศาสนาพราหมณ์ เป็นศาสนาที่ยอมรับนับถือว่ามีเทพเจ้าเป็นใหญ่ (ศาสนาเทวนิยม) โดยมีเทพสูงสุด ๓ องค์ คือ พระพรหม พระวิษณุ และ พระศิวะและมีเทพอื่นๆอีกหลายองค์ เช่น พระอัคนี , พระวายุ, พระอินทร์ ฯลฯ

ในพระคัมภีร์ปุราณะอันเป็นคัมภีร์หลักใหญ่ใจความสำคัญของศาสนาพราหมณ์ ได้กล่าวถึงเทพที่สำคัญ ๆ (มหาเทพ)ไว้ถึง ๘ องค์ด้วยกัน คือ
๑. พระพรหม
๒. พระวิษณุ (พระนารายณ์)
๓. พระศิวะ (พระอิศวร)
๔. พระสุรัสวดี (สรัสวติ, สรสวติ) ชายาของพระพรหม
๕. พระลักษมี ชายาของพระวิษณุ
๖, พระอุมา (พระนางปาราวตี) ชายาของพระศิวะ
๗. พระคเนศ (พระพิฆเนศวร) พระโอรสของพระศิวะกับพระนางอุมา
๘. พระขันธกุมาร พระโอรสของพระศิวะกับพระนางอุมา

นี้ไง ? ความสำเร็จ

นี้ไง ? ความสำเร็จ
เสร็จแล้วคับนิทรรศการของพวกเราปี 3 คณะครุศาสตร์ คับ

1...2....3.....

1...2....3.....
มาถ่ายรูปกัน

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

บทที่ 3


บทที่ 3
หลักจิตวิทยาในการจัดนิทรรศการ
ในการจัดนิทรรศการมีหลักการสำคัญที่ควรคำนึงถึงได้แก่ หลักจิตวิทยา
ในการจัดนิทรรศการและหลักการออกแบบนิทรรศการ ในบทนี้จะกล่าวถึงหลักจิตวิทยาในการจัดนิทรรศการ ส่วนหลักการออกแบบนิทรรศการจะกล่าวในบทต่อไป

การรับรู้
การรับรู้ คือ การสัมผัสที่มีความหมาย การรับรู้เป็นกระบวนการหรือตีความแห่งการสัมผัสที่ได้รับออกเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีความหมาย คนเราจะต้องใช้ความรู้เดิมหรือประสบการณ์ที่มีมาก่อน โดยปกติเรารับรู้โดยผ่านระบบรับสัมผัสซึ่งได้แก่ ระบบรีเซ็ตเตอร์ในตา หู จมูก ลิ้น ผิมหนัง และกล้ามเนื้อ ข่าวสารที่ระบบรับสัมผัสรับจากสิ่งแวดล้อมจะถูกส่งไปยังสมองเพื่อให้เกิดความรู้สึกเป็นการได้เห็น การได้กลิ่น การได้รส ความรู้สึกร้อน หนาว เจ็บป่วย ฯลฯ เราสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการรับรู้มาประยุกต์ใช้ในการจัดนิทรรศการทั้งที่เป็นพฤติกรรมการแสดงออกและสื่อที่ผู้ชมสามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทรับสัมผัสทั้งห้า ดังนั้นในการจัดนิทรรศการผู้จัดควรคำนึงถึงองค์ประกอบหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ดังนี้

1. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการับรู้
1.1 ปัจจัยที่เร้าความสนใจจากภายนอกมีบทบาทกระตุ้นในการรับรู้ให้ผู้ชมสนใจนิทรรศการขึ้นอยู่กับคุณลักษณะดังนี้ ความเข้ม ขนาด ความแปลกใหม่และสิ่งที่มีลักษณะตัดกัน ตำแหน่งที่ตั้ง การเคลื่อนไหว ความเป็นหนึ่งเดียว ระยะเวลา ความคงทน การทำซ้ำ
1.2 ปัจจัยที่ความสนใจจากภายใน ควรคำนึงถึงปัจจัยทางด้านจิตวิทยาบางประการ เช่น ความตั้งใจ แรงขับ อารมณ์ ความสนใจ สติปัญญา
ปัจจัยภายในของมนุษย์เป็นเรื่องที่สลับสับซ้อนกว่าภายนอกยิ่งนัก ยากที่จะแสวงหาความจริงแท้ให้กระจ่างแจ้งได้ ยังมีพฤติกรมภายในอีกหลายอย่างที่เป็นปัจจัยส่งผลถึงการรับรู้เรียนรู้และการดำเนินชีวิต แต่เท่าที่เสนอมา 5 ประการนี้ พอเป็นพื้นฐานที่จะนำไปใช้พิจารณาร่วมกับองค์ประกอบอื่นๆในการวางแผนและดำเนินงานในการจัดนิทรรศการให้ประสบผลสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

2. การรับรู้นิทรรศการตามแนวทฤษฏีจิตวิทยา
2.1 หลักของความไกล้ชิด หมายถึง สิ่งเร้าที่อยู่ไกล้กันทำให้เรามีแนวโน้มที่จะรับรู้
- ประโยชน์ในการนำหลักของความไกล้ชิดมาใช้กับการจักนิทรรศการคือสะดวกต่อการรับรู้และการเรียนรู้ของผู้ชม
- การประยุกต์ใช้หลักของความไกล้ชิดกับการจัดนิทรรศการเพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมรับรู้ได้ดีตามหลักของความไกล้ชิด
2.2 หลักของความคล้ายคลึง หมายถึง สิ่งเร้าที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันทำให้การรับรูมีแนวโน้มที่จะเป็นพวกเดียวกันมากกว่าสิ่งที่แตกต่างกัน
- ประโยชน์ในการนำหลักของความไกล้ชิดมาใช้กับงานนิทรรศการมีหลายประการคือ ช่วยให้เกิดความเป็นกลุ่มและมีเอกภาพ สะดวกต่อการรับรู้
- การประยุกต์ใช้หลักของความคล้ายคลึงกับการจัดนิทรรศการทำได้โดยการจัดวางสื่อหรือสิ่งของที่มีลักษณะคล้ายกันเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่มเดียวกัน
2.3 หลักของความต่อเนื่อง หมายถึง สิ่งเร้าที่ปรากฎให้เห็นอย่างซ้ำๆเหมือนกันไปในทิศทางเดียวกันอย่างต่อเนื่องมีแนวโน้มเป็นพวกเดียวกันมากกว่าที่จะแยกกัน
- ประโยชน์ในการนำหลักของความต่อเนื่องมาใช้ในการจัดนิทรรศการมีหลายประการ คือ ช่วยให้เกิดประโยชน์ในการวางแผน การออกแบบและการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การประยุกต์ใช้หลักของความต่อเนื่องมาใช้ในการจัดนิทรรศการเพื่อให้ผู้ชมเกิดการรับรู้และการเรียนรู้ได้ดี
2.4 หลักของความประสาน เป็นการต่อเติมสิ่งเร้าที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์ ความไม่สมบูรณ์จะก่อให้เกิดการสงใสทำให้เราสนใจและคาดเดาด้วยการเติมเต็มส่วนที่บกพร่อกให้สมบูรณ์
- การนำหลักของการประสานมาใช้ในการจัดนิทรรศการมีประโยชน์หลายประการคือ สามารถสร้างความฉงนสนเท่ห์และกระตุ้นการมีส่วนร่วมของผู้ชมได้ดี
- การประยุกต์ใช้หลักของความประสานกับการจัดนิทรรศการสามารถทำได้โดยการวางผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันให้ห่างกันในบางช่วงที่ต้องการกระตุ้นการรับรู้

การเรียนรู้
การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
อันเป็นผลจากการฝึกฝนและประสบการณ์ แต่มิใช่ผลจากการตอบสนองที่
เกิดขึ้นตามธรรมชาติ การจัดนิทรรศการเป็นสื่อกิจกรรมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ของผู้ชมได้ดีเนื่องจากการใช้สื่อหลายชนิดและวิธีการนำเสนอที่หลากหลาย ทำให้สามารถตอบสนองการเรียนรู้ได้หลายด้านการเข้าร่วมกิจกรรมนิทรรศการ
มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้แตกต่างจากการเรียนรู้ในห้องเรียนทั่วไป ผู้ชมได้รับ
ความรู้ควบคู่กับความบันเทิงทั้งยังสามารถเลือกชมสื่อหรือเนื้อหาได้ตามอัธยาศัย
ตามความสนใจ และจะใช้เวลาในการชมหรือเรียนรู้ได้ตามความต้องการ
นักจิตวิทยาหลายท่านได้ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์ตลอดจนปัจจัยต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องและได้ข้อสรุปเป็นแนวคิดและทฤษฎีซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็น
แนวทางให้เกิดประโยชน์ในการจัดนิทรรศการได้ดังนี้
1. ประเภทของการเรียนรู้
2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้ชมในการชมนิทรรศการ

จิตวิทยาพัฒนาการ
1. วัยเด็กตอนต้น
เด็กวัยนี้มีอายุตั้งแต่ 2 ถึง 6 ปี เป็นเด็กวัยเรียนในระดับบริบาล อนุบาล และประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นวัยที่มีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมากเพราะเริ่มก้าวออกสู่สังคมนอกบ้าน เด็กวัยนี้ชอบสิ่งแปลกใหม่ที่ไม่ค่อยรู้จักมาก่อนสนใจสิ่งรอบตัวเป็นวัยแห่งการสำเร็จอย่างแจริง ช่างซักถาม ชอบรูปภาพในหนังสือและชมสิ่งเคลื่อนไหวที่มีสีสันสดใสชัดเจน
2. วัยเด็กตอนกลาง
ช่วงของเด็กวัยนี้ประมาณ 7- 12 ปี อยู่ในช่วงระดับประถมศึกษาเด็กสนใจสภาพแวดล้อมและสิ่งแวดล้อมรอบตัวพอใจที่จะเผชิญสิ่งแปลกใหม่ ชอบอ่านหนังสือ ฟังเพลง ร้องเพลง ดูโทรทัศน์ ชอบภาพยนตร์ประเภทนิทาน การจัดนิทรรศการที่ผู้ชมกลุ่มเป้าหมาย อยู่ในวัยเด็กตอนกลางควรมีกิจกรรมหลากหลายให้เด็กมีส่วนร่วมได้เล่นและแสดงออกตามความสนใจอย่างอิสระ
3. วัยรุ่น
อายุประมาณ 13-19 ปี ลักษณะความสนใจของวัยรุ่นมีขอบข่ายกว้างขวางสนใจหลายอย่างแต่ไม่ลึกซึ้งมากสนใจและชอบเลียนแบบบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นที่นิยมของสังคม วัยนี้สนใจคบเพื่อนเพศเดียวกันและเพื่อนต่างเพศ ให้ความสำคัญกับงานเลี้ยงชุมนุม การสร้างสรรค์ให้ความรู้หรือข้อคิดให้สามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต ตัวอย่างเนื้อหาหรือกิจกรรมที่เหมาะสมกับการจัดนิทรรศการสำหรับวัยรุ่น เช่น การดูแลสุขภาพวัยรุ่น การปรับปรุงบุคลิกภาพ
4. วัยผู้ใหญ่
วัยผู้ใหญ่ตอนต้น เริ่มตั้งแต่อายุประมาณ 20 ถึง 40 ปี โดยทั่วไปสนใจเกี่ยวกับเรื่องรูปร่างหน้าตา วัยนี้อยู่ในวัยสร้างฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ที่อยู่อาศัย อิทธิพลด้านอาชีพมีผลต่อความสนใจมาก อาชีพและสังคมที่ตนรับผิดชอบอยู่ การปรับตัวให้เข้ากับคู่สมรส การอบรมเลี้ยงดูลูกเป็นต้น

วัยผู้ใหญ่ตอนกลาง อายุประมาณ 40-60 ปี เป็นระยะเริ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ ความสนใจอยู่ที่เรื่องสุขภาพ การปรับตัวในงานอาชีพที่ต่อเนื่องมาจากวัยผู้ใหญ่ตอนต้น กิจกรรมยามว่าง ความสัมพันธ์ในครอบครัว การทำประโยชน์ให้กับสังคม วัฒนธรรมประเพณีและศาสนา

วัยชรา โดยทั่วไปมักจะกำหนดให้ผู้ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไปเข้าสู่วัยชรา วัยนี้เป็นวัยปรับตัวให้เหมาะกับความเสื่อมของสุขภาพร่างกาย คนในวัยชราจึงสนใจเรื่องสุขภาพ ชอบให้มีคนอยู่เป็นเพื่อน สมใจเรื่องราวในอดีตที่ตนเคยร่วมสมัย ต้องการการยอมรับและยกย่องประสบการณ์และความสำเร็จในอดีตที่ผ่านมา

บทสรุป
การจัดนิทรรศการให้ประสบผลสำเร็จควรคำนึงถึงปัจจัยทางด้านจิตวิทยา
หลายอย่างที่สำคัญคือ การรับรู้ การเรียนรู้ และจิตวิทยาพัฒนาการ
การรับรู้ที่ควรคำนึงถึงได้แก่ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ทั้งปัจจัยที่เร้าความสนใจ
จากภายนอกและภายใน หลักการจากทฤษฎีของกลุ่มเกสตอลท์ได้แก่
หลักของความใกล้ชิดหลักของความคล้ายคลึงหลักของความต่อเนื่องและหลักของ
การประสานส่วนการเรียนรู้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ความเข้าใจ
ด้านเจตคติอารมณ์และจิตใจด้านกล้ามเนื้อและประสาทสัมผัสปัจจัยที่มีผลต่อการเรียน
รู้ของผู้ชมในการชมนิทรรศการได้แก่ปัจจัยทางด้านผู้ชมด้านเนื้อหาและกิจกรรมและ
ด้านเทคนิคการนำเสนอสำหรับจิตวิทยาพัฒนาการในส่วนที่นำมาประยุกต์ใช้
ในการจัดนิทรรศการได้แก่ ความต้องการและความสนใจของบุคคลในวัยเด็กตอนต้น
วัยเด็กตอนกลางวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ซึ่งยังแบ่งออกเป็นวัยผู้ใหญ่ตอนต้นวัยผู้ใหญ่
ตอนกลาง และวัยผู้ใหญ่ตอนปลายหรือวัยชรา

ไม่มีความคิดเห็น:

อาจารย์และพี่คนสวย

อาจารย์และพี่คนสวย

มาทำงาน

มาทำงาน
งานไม่ทำมาถ่ายรูปดีกว่า

เอกเทคโน

เอกเทคโน
สมาชิก

เอกคณิต

เอกคณิต
สมาชิก

เอกวิทย์

เอกวิทย์

ปฐมวัย

ปฐมวัย

ดึกแล้ว

ดึกแล้ว
ดึกแล้วยังจะติดอยู่อีก